วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์วรรณกรรม

๑. ความหมายของการวิเคราะห์วรรณกรรม
การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ ด้วยว่าใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์อย่างไร ต่อใครบ้าง ผู้วิเคราะห์ มีความเห็นอย่างไร เรื่องที่อ่านมีคุณค่าด้านใดบ้างและแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์
ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

๒. แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม
การวิเคราะห์วรรณกรรมมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างกว้าง ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท แต่ละประเภท ผู้วิเคราะห์ต้องนำแนวการวิเคราะห์ไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละชิ้นงานซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งประพนธ์ เรืองณรงค์ และคณะ (๒๕๔๕ : ๑๒๘) ได้ให้หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการวิเคราะห์วรรณกรรม ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม



นิราศนรินทร์คําโคลง

ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า นิราศหมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
 ๑.๓ นางในนิราศ
      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
 ๑.๔ คำประพันธ์ในนิราศ  อ่านเพิ่มเติม




นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

 นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461 นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มี  อ่านเพิ่มเติม




อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

เหนา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบทละครรำที่พร้อมเพรียงทั้งเนื้อหา ความไพเราะ กระบวนการเล่นละคร และยังสะท้อนถึงประเพณีไทยในอดีต โดยแม้บทละครรำเรื่อง อิเหนา จะมีพื้นเพมาจากชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงปรับแก้ให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง และรสนิยมของคนไทย

 ลักษณะคำประพันธ์ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

         ลักษณะคำประพันธ์เป็นกลอนบทละคร แต่มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคจะขึ้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น และ มาจะกล่าวบทไป

 จุดมุ่งหมายของบทละคร เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง  อ่านเพิ่มเติม




วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คำนมัสการ

 คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเ อ่านเพิ่มเติม